การวิเคราะห์ตนเองเพื่อนำไปพัฒนาถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแนวทางธุรกิจต่าง ๆ เพราะการรู้ข้อดีและข้อเสียของตัวเองก็จะช่วยให้วางกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุม ขั้นตอนหรือวิธีในการวิเคราะห์ตนเองก็มีอยู่หลายอย่าง มีหลายเทคนิคที่น่าสนใจ ถ้าสามารถวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมแล้วพัฒนาตนเองขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพได้แล้วก็จะพาธุรกิจหรือหน้าที่การงานของคุณก้าวหน้าไปด้วยอย่างแน่นอน การวิเคราะห์ตนเองคืออะไร ทำไมต้องวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองคือแนวทางที่ใช้ในการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนทั้งในด้านการทำงาน สติปัญญา และอารมณ์ ซึ่งจะต้องใช้ปัจจัยและเทคนิคหลายอย่างเพื่อการเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของตัวเอง ถ้ายังวิเคราะห์ตนเองออกมาไม่ได้ การพัฒนาก็จะทำไม่ได้ หรือถ้าดันทุรังทำไปก็จะพัฒนาออกมาไม่ถูกทาง “การพัฒนาตนเองมีประโยชน์ในการทำงานอย่างไร?” ดังนั้นการวิเคราะห์ตนเองจึงมีประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ อุดช่องโหว่ ลบจุดด้อย เสริมจุดเด่น และยังช่วยปรับอารมณ์ ปรับแนวคิดให้เหมาะสำหรับการทำธุรกิจหรือประกอบหน้าที่การงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้และเข้าใจตัวเองเพื่อต่อยอดไปถึงอนาคตในแบบที่ต้องการ ขั้นตอนการวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างถูกทาง แม้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาจะไม่ได้มีกฎตายตัวว่าต้องทำอย่างไร แต่ก็จะต้องตั้งเป้าหมายอะไรบางอย่างขึ้นมาก่อนเพื่อให้มีแนวทางว่าจะพัฒนาตัวเองไปในด้านไหน หรือต้องการเพิ่มทักษะอะไรในชีวิต สำหรับการวิเคราะห์อย่างถูกต้องก็จะมีขั้นตอนสำคัญที่ควรทำตามดังนี้ หาทางเข้าใจพฤติกรรม ขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์ตนเองจะต้องพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมของตนเองเพื่อค้นหาบุคลิกภาพ ค้นหาทัศนคติ อารมณ์ด้านบวกและด้านลบ ถนัดทำงานคนเดียวหรือเป็นทีม เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ได้มากแค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลในการทำงาน หรืออาจจะคัดเฉพาะพฤติกรรมที่มีผลต่อทักษะด้านที่ต้องการพัฒนาก็ได้ ค้นหากระบวนการคิด เมื่อเข้าใจพฤติกรรมเบื้องต้นของตนเองแล้ว จากนั้นก็ต้องมองย้อนกลับไปว่าพฤติกรรมเหล่านั้นมาจากไหนเพื่อค้นหากระบวนการคิดของตัวเองว่าตอบสนองอย่างไรต่อเหตุการณ์แบบไหนบ้าง เพราะการกระทำทุกอย่างส่งผลมาจากกระบวนการคิด เมื่อค้นหากระบวนการคิดได้แล้วก็จะช่วยให้พัฒนาได้อย่างถูกทางว่าควรปรับปรุงหรือเสริมตรงไหนให้มีศักยภาพขึ้นได้บ้าง รู้ทันอารมณ์ของตัวเอง อารมณ์ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดและพฤติกรรม ดังนั้นคุณจะต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองอยู่เสมอ ต้องคอยตรวจสอบว่าเวลาทำอะไรบ้างแล้วจะรู้สึกดี รู้สึกแย่ […]