เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ในธุรกิจ

เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ในธุรกิจ

การฝึกจิตใจให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในการทำธุรกิจก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารหรือวางแผนงานง่ายขึ้น เพราะการทำธุรกิจทุกครั้งจะต้องเจอกับอุปสรรค เจอความยากลำบากกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีจิตใจที่เข้มแข็งและแนวคิดที่ดีก็จะยอมแพ้กันไปง่าย ๆ หรือแม้จะแค่ย่อท้อแล้วไม่หาทางแก้ไขความคิดนั้นความสำเร็จก็จะไม่เกิดแน่นอน

เทคนิคการฝึกจิตใจมีประโยชน์อย่างไรสำหรับเจ้าของธุรกิจ

แม้เทคนิคการฝึกจิตใจจะดูเหมือนไม่ได้มีอะไรสำคัญเท่าทักษะอื่น ๆ ที่เจ้าของธุรกิจควรมี แต่ความจริงแล้วสภาพจิตใจเป็นเหมือนพื้นฐานที่จะทำให้เกิดทักษะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่สำคัญขึ้นมาได้ ประโยชน์ที่ชัดเจนของการฝึกจิตใจให้พร้อมจะมีอยู่ 3 ข้อใหญ่ ๆ ได้แก่

ประโยชน์ของการฝึกจิตใจก็คือการช่วยให้เกิดความสุขในการทำงานขึ้นมาได้ การทำงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น และยังช่วยให้ความเครียดลดลงได้อีกด้วย

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อจิตใจพร้อม การทำงานก็จะเป็นระบบมากขึ้น ผู้ประกอบการทุกคนจะพยายามหาหนทางทุกอย่างเพื่อทำให้ธุรกิจของตัวเองดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะประสบความสำเร็จ

2. ริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ หลังจากที่ได้ปรับพื้นฐานจิตใจกับแนวคิดมาแล้วผู้ประกอบการจะเริ่มมีสมาธิกับธุรกิจของตัวเอง เกิดเป็นความคิดใหม่ ๆ หรือหาแนวทางแบบใหม่ ๆ มาใช้ได้ง่ายขึ้น

3. ลดความเครียด เมื่อฝึกจิตใจให้พร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ในการทำธุรกิจมาแล้ว ผู้ประกอบการจะเข้าใจถึงกลไกต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ ทำให้เครียดน้อยลง และหาวิธีรับมือกับปัญหาได้ดีขึ้น

เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมสำหรับการทำธุรกิจ

เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมสำหรับการทำธุรกิจสามารถทำได้ด้วยตัวเองแต่จะต้องหมั่นฝึกฝนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ความคิดเหล่านั้นคงที่ เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ ต้องมีสติและใช้ความคิดที่ฝึกมาเพื่อให้ปัญหาลุล่วงผ่านไปได้ โดยจะมีเทคนิคที่ควรทำทั้งหมดดังนี้

ฝึกสมาธิ

ก่อนที่จะเริ่มฝึกฝนอะไรคุณจะต้องมีสมาธิก่อน เพราะสมาธิจะช่วยให้คุณโฟกัสกับความคิดตัวเองได้มากขึ้น ใจเย็นขึ้น ตอบสนองต่อความเครียดหรือปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีสติ แม้จะอยู่ในช่วงฝึกฝนหรือใช้งานจริง สมาธิก็ยังเป็นทักษะสำคัญที่นักธุรกิจทุกคนขาดไม่ได้ ซึ่งคุณอาจจะใช้เวลานั่งสมาธิเริ่มต้นแค่ 10-15 นาทีต่อวันก็ได้

หมั่นทบทวนเป้าหมาย

นักธุรกิจที่ดีจะต้องหมั่นทบทวนเป้าหมายของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กรหรือเป้าหมายย่อยของทีมก็ตาม เพื่อให้รู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร เพื่ออะไร และสามารถวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอนเหมาะสม ไม่หลุดโฟกัสหรือเครียดเกินไปกับสิ่งรบกวนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น

รู้จักการขอบคุณ

การขอบคุณนับว่าเป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยเสริมสุขภาพจิตที่ดีได้ทั้งสำหรับตัวคุณเองและคนรอบข้าง ให้คุณค่อย ๆ จดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวันแล้วเริ่มขอบคุณโอกาสที่ดี เพื่อนร่วมงานที่ดี รวมถึงขอบคุณตัวเองด้วยที่ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ มาได้เรื่อย ๆ วิธีนี้จะช่วยให้มีทัศนคติต่อการทำงานที่ดีขึ้นได้ด้วย

เมื่อทำงานหนักหรือนานเกินไปจะทำให้สมองล้าและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ดังนั้นควรมีการฟักเพื่อฟื้นฟูความสามารถสมองบ้าง โดยสามารถใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีก็ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการนั่งนิ่ง ๆ โดยไม่ต้องคิดอะไร หรือสูดหายใจลึก ๆ แล้วมองไปที่ไกล ๆ แทน

รู้จักการพักสมอง

ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจถ้าใช้งานหนักเกินไปก็จะช้าและเริ่มมีประสิทธิภาพน้อยลงเรื่อย ๆ สำหรับการทำงานในแต่ละวันก็ควรหาเวลาพักสมองเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการคิดและการตัดสินใจกลับคืนมาบ้าง บางครั้งการพักสมองอาจจะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีด้วยการนั่งเงียบ ๆ ปล่อยใจให้ไม่ต้องคิดอะไร หรืออาจจะแค่สูดหายใจลึก ๆ แล้วมองวิวไกล ๆ ก็ใช้ได้แล้ว

ยอมรับความจริง

แน่นอนเลยว่าในความเป็นจริงแล้วบางปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทันที หรืออาจจะเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยปัจจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นต้องฝึกการยอมรับความจริงเพื่อให้สามารถตัดใจจากปัญหาที่ใหญ่เกินไปได้ และเอาเวลาที่เหลือมาแก้ไขส่วนอื่น ๆ ที่ยังทำได้เพื่อให้เกิดความสูญเสียกับธุรกิจน้อยที่สุด

ฝึกความยืดหยุ่น

ไม่ว่าจะเป็นความคิดหรือจิตใจก็ควรมีความยืดหยุ่นที่ดี ต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รู้จักการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในการบริหารงานก็อาจจะมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปบ้างเพื่อให้การทำงานราบรื่นขึ้น ไม่ต้องคิดเล็กคิดน้อยไปกับทุกเรื่อง แต่ก็จะต้องแยกแยะเป็นด้วยว่าเรื่องไหนควรคิด เรื่องไหนไม่ควรคิด

ไม่คิดร้ายต่อองค์กร

การทำธุรกิจที่ดีควรมีความหวังและมององค์กรของตัวเองในแง่ดีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของตัวเองหรือช่วยธุรกิจของคนอื่นก็ตาม ถ้าคุณเริ่มคิดร้ายต่อองค์กรเมื่อไหร่ ไฟในการทำงานของคุณก็จะหมดตามไปด้วย หลังจากนั้นก็จะเริ่มหมดความพยายามในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทีมงานจะรับรู้ถึงความรู้สึกนี้แล้วหมดไฟตามไปด้วยจนยากที่จะสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้

ผู้ประกอบการไม่ควรดูถูกทีมงาน เพราะทีมงานคือผู้ช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวหน้า พวกเขาอาจจะมีความชำนาญในด้านที่คุณไม่มี ทำงานบางอย่างที่คุณไม่สามารถทำได้ และในอนาคตพวกเขาก็จะพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิม

ไม่ดูถูกทีมงาน

ทั้งทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็เป็นคนที่มาช่วยทำให้ธุรกิจของคุณก้าวหน้าขึ้น ดังนั้นห้ามดูถูกหรือมองพวกเขาในแง่ไม่ดี ให้คิดว่าพวกเขาคือผู้ที่มีความชำนาญในด้านอื่นที่คุณไม่มี สามารถทำงานในส่วนที่คุณทำไม่ได้ และในอนาคตพวกเขาก็จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาเพื่อธุรกิจของคุณเช่นกัน การขอบคุณพวกเขาคือเรื่องที่ควรทำมากกว่า

ไม่เลือกงาน

ในแต่ละธุรกิจก็จะมีหน้างานหลายแบบ คุณจะต้องไม่เลือกทำเฉพาะงานที่ชอบหรืองานที่ถนัดเท่านั้น ถ้าคุณได้ทำงานที่ชอบหรือถนัดก็จะช่วยเสริมจุดเด่นขึ้นมาได้ แต่ถ้าทำงานที่ไม่ถนัดหรือไม่ชอบก็ยังเป็นการปรับปรุงและพัฒนาทักษะที่ไม่ถนัดให้ดีขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นงานทุกแบบมีส่วนช่วยให้คุณพัฒนาตัวเองมากขึ้นได้เสมอ ถ้ารู้จักทำงานโดยไม่เลือกงานก็จะช่วยให้ตัวของคุณเองกลายเป็นคนที่เพียบพร้อมในการทำงานทุกด้าน

ใช้ประสบการณ์เป็นบทเรียน

ทุกการทำธุรกิจย่อมมาพร้อมกับปัญหา หลังจากที่ปัญหาผ่านพ้นไปแล้วคุณควรเก็บเกี่ยวข้อคิดที่ได้จากปัญหาครั้งก่อนเอาไว้เพื่อนำมาใช้วางแผนงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น ใช้ในการแก้ปัญหาครั้งถัดไป หรือแม้แต่การเก็บไว้เป็นข้อคิดในการทำงานส่วนตัว ประสบการณ์จะทำให้คุณมีความรอบคอบยิ่งขึ้น เก่งยิ่งขึ้น และต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาด้วย

เทคนิคการฝึกจิตใจอื่น ๆ สำหรับการรับมือปัญหาในธุรกิจก็ยังมีอีกหลายแบบ หลัก ๆ แล้วเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีความสุขในการทำงานมากขึ้นแม้จะเจอปัญหาหนักแค่ไหนอยู่ก็ตาม เมื่อมีความสุขมากขึ้น มีความเครียดน้อยลง ก็จะเริ่มมีสติ มีสมาธิในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

“ความสุขในการทำงานจะสร้างคุณภาพงานที่ดี”

แม้เวลาที่ธุรกิจไม่ได้เผชิญปัญหาอะไร สภาพจิตใจที่ดีก็ยังช่วยให้บรรยากาศในการทำงานเป็นไปแบบสบาย ๆ ไม่มีความเครียดเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และยังทำให้ทีมงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ออกมามากขึ้นได้ด้วย

Empathy ความเข้าใจผู้อื่นจะช่วยให้การบริหารงานง่ายขึ้น

ความเห็นอกเห็นใจจะนำมาซึ่งทัศนคติที่ดี Empathy จึงเป็นอีกทักษะทางด้านจิตใจที่จะเข้ามาช่วยเสริมการบริหารงานของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวของคุณเองก็จะเข้าใจทีมงานว่ารู้สึกอย่างไร ถ้าทีมงานสัมผัสถึงความเข้าอกเข้าใจของคุณได้ พวกเขาก็จะทำงานดีขึ้นเป็นการตอบแทนกลับมา

– Empathy หมายถึงการเข้าใจในความรู้สึกของคนอื่น

– Sympathy หมายถึงการเห็นใจหรือสงสารคนอื่น

Empathy คือการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นเหมือนสิ่งนั้นเกิดขึ้นกับตัวเอง ส่วน Sympathy จะเป็นแค่การสงสารหรือเห็นใจโดยไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับสิ่งนั้น

แม้ว่า Empathy และ Sympathy จะมีความหมายคล้ายกัน แต่ระดับความ “อิน” กับสิ่งที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน Empathy จะเป็นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่นเหมือนเรื่องนั้นกำลังเกิดขึ้นกับตัวเองไปด้วย มีความรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจตามไปด้วยจริง ๆ ส่วน Sympathy จะเป็นแค่ความรู้สึกเห็นใจหรือสงสาร แต่ก็เป็นแค่การรับรู้สถานการณ์ของคนอื่นแล้วเกิดความรู้สึกเห็นใจขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้มีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องนั้นจริง ๆ

Empathy จึงเป็นทักษะในการเข้าใจคนอื่นทั้งในด้านความคิด อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งจะต้องไม่เอาตัวเองเข้าไปเป็นศูนย์กลางเพื่อให้มองปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบบรอบด้านและมีสติในการแก้ไข ดังนั้น Empathy จึงมีความสำคัญกับการบริหารงานมากกว่า ถ้ามี Empathy จะทำให้คุณอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และเกิดเป็นความจงรักภักดีให้กับทีมงานขึ้นมาได้

“Empathy คือความเข้าใจโดยไม่เอาตัวเองเข้าไปเป็นศูนย์กลาง”

Empathy ยังนำมาประยุกต์ใช้กับงานอื่นที่ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นงานขาย งานออกแบบ งานผลิตต่าง ๆ ที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ถ้าคุณสามารถเข้าใจได้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไรก็จะผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาได้ตรงตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้เป็นอย่างดี

ถ้ามองในมุมของทีมงาน การมี Empathy ของผู้บริหารหรือหัวหน้าจะช่วยให้ทีมงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรมากขึ้น อยากทำงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น มีหลายธุรกิจที่เงินเดือนหรือสวัสดิการไม่ได้สูงแต่ Empathy ก็ช่วยให้ทีมงานอยู่กับองค์กรต่อได้เรื่อย ๆ และยังสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่า Empathy Skill คือทักษะที่มีประโยชน์สำหรับทุกฝ่ายในธุรกิจเลยทีเดียว

การที่ผู้ประกอบการมี Empathy จะทำให้ทีมงานรู้สึกว่าได้รับกำลังใจจากผู้ประกอบการโดยตรง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรจนเกิดเป็นความจงรักภักดีต่อองค์กร การทำงานในทีมจะเต็มไปด้วยความไว้วางใจ และเมื่อผู้ประกอบการมีปัญหา ทีมงานเหล่านี้ก็จะเสนอตัวเข้ามาช่วยด้วยความเต็มใจเช่นกัน

กำลังใจคือรางวัลตอบแทนการทำงานอย่างหนึ่ง

เมื่อผู้ประกอบการมี Empathy ทีมงานที่กำลังอยู่ในภาวะสิ้นหวังจะรู้สึกว่าได้รับกำลังใจจากผู้ประกอบการโดยตรง ไม่ว่าพวกเขาจะแก้ไขปัญหาของตัวเองได้หรือไม่แต่กำลังใจก็ถูกส่งไปถึงแล้ว สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ทีมงานรู้สึกผูกพันกับผู้ประกอบการและองค์กรมากขึ้น นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นและความจงรักภักดี (Loyalty) ที่มากขึ้นได้ด้วย

“บางครั้งกำลังใจก็สามารถส่งต่อกันได้ด้วยคำพูด”

ในทางกลับกัน เมื่อผู้ประกอบการแสดง Empathy ให้ทีมงานได้รับรู้ไปแล้ว เมื่อตัวผู้ประกอบการเองประสบปัญหาอะไร ทีมงานก็จะแสดง Empathy ตอบกลับมาแล้วเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถเช่นกัน กำลังใจเหล่านี้เหมือนเป็นรางวัลตอบแทนการทำงานที่มี Empathy และจะช่วยให้การทำงานเป็นทีมเต็มไปด้วยความไว้วางใจกันและกัน

บทสรุป : เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ในธุรกิจ

เมื่อการบริหารธุรกิจนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากและมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เทคนิคการฝึกจิตใจให้พร้อมรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจจึงเป็นทั้งตัวช่วยให้คุณมีความสุขในการทำงานมากขึ้นและยังทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารงานดีขึ้น

แม้เป้าหมายขององค์กรจะสำคัญ แต่สุขภาพจิตของคนที่ทำงานก็ต้องดีด้วยเช่นกัน ถ้าการทำงานเต็มไปด้วยความเครียด ไม่มีความสุขเวลาทำงาน กำลังใจและความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจก็จะหายไป เมื่อผู้บริหารยังไม่มีไฟในการทำงาน พนักงานก็จะรับรู้ถึงความรู้สึกนี้แล้วหมดไฟตามไปด้วย

แต่ถ้าทำงานกันด้วยความสุข ไม่มีความเครียดแม้จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา คุณก็จะมีสติในการทำงาน มองเห็นทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่าย การบริหารงานจะมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความสัมพันธ์ภายในองค์กรก็จะดีขึ้น ทุกคนจะมีไฟในการทำงานแล้วช่วยกันดำเนินธุรกิจของคุณจนประสบความสำเร็จได้ด้วยความสุข

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *