ความสำคัญในการมองภาพรวมให้ออก และคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ

ความสำคัญในการมองภาพรวมให้ออก และคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ

การมองภาพรวมให้ออกถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจหรือวางกลยุทธ์การตลาดต่าง ๆ เมื่อมีการจดจ่อกับอะไรบางเรื่องมากเกินไปจะทำให้โฟกัสการมองเห็นแคบลง ผู้ประกอบการมือใหม่ทั้งหลายที่กำลังพยายามมองหาช่องทางทำธุรกิจก็มักจะมองอะไรแคบกว่าที่ควรจะเป็นเสมอเช่นกัน

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่จึงเป็นการหัดให้มองภาพแบบกว้าง ๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่ตกหล่นไป ต้องทำอะไรอย่างรอบคอบ ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน มีการบริหารจัดการที่ดี มีความมุ่งมั่นและสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ

การมองภาพรวมสำคัญต่อธุรกิจของคุณอย่างไร

การมองภาพรวมหรือภาพใหญ่ (Big Picture Thinking) นั้นเป็นหนึ่งในทักษะที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ การมองภาพรวมให้เป็นก็จะช่วยให้คุณโฟกัสเรื่องที่ควรทำได้อย่างถูกจุด

การมองเห็นภาพรวมแบบกว้าง ๆ จะช่วยให้คุณมองเห็นเป้าหมายของธุรกิจชัดขึ้น ทำงานได้ง่ายขึ้น และยังมองเห็นโอกาสต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาได้ดีขึ้น จากนั้นก็ค่อย ๆ โฟกัสรายละเอียดปลีกย่อยอีกครั้ง

การมองภาพรวมจะช่วยให้เป้าหมายของธุรกิจชัดขึ้น ในการเริ่มธุรกิจใหม่ก็จะต้องมองภาพกว้าง ๆ ว่ามีรายละเอียดอย่างไร แล้วค่อย ๆ เขียนแผนธุรกิจขึ้นมาเพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทว่าควรต้องเดินไปทางไหน ถ้าไม่มองภาพกว้างก่อนก็จะทำให้เดินผิดทิศได้ง่ายเพราะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับทิศทางของตลาดมาก่อนเลย

การมองภาพรวมจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย เพราะคุณจะมองออกว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เอื้อต่อการก้างหน้าของธุรกิจและปรับปรุงแผนการทำงานให้เป็นไปตามความเหมาะสม แบ่งงานหรือกำหนดหน้าที่ของพนักงานได้อย่างรอบคอบ การทำงานของทั้งบริษัทเลยง่ายขึ้นตามไปด้วย

การมองภาพรวมจะช่วยให้มองเห็นโอกาส เพราะการมองภาพรวมจะได้เห็นทั้งตลาดและปัจจัยต่าง ๆ ในมุมกว้าง เมื่อมีโอกาสอะไรเข้ามาก็จะมองเห็นแล้วคว้าเอาไว้ได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ช่วยได้

ในการทำงานทั่วไปของผู้ประกอบการ ถ้ามองภาพรวมของงานทั้งหมดออกก็จะช่วยให้แบ่งงานและช่วงเวลาในแต่ละวันมาใช้ได้อย่างมีเหมาะสม แต่จะต้องใช้ควบคู่กับทักษะในการวิเคราะห์และวางแผนไปด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

วิธีใช้การมองภาพรวมเพื่อวางกลยุทธ์ให้ธุรกิจ

การมองภาพรวมนั้นมีส่วนช่วยในวางวางกลยุทธ์ธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือภายนอกก็จะต้องมองภาพรวมกว้าง ๆ ก่อนแล้วจึงค่อย ๆ กำหนดให้แคบลงว่าควรโฟกัสที่ส่วนไหนบ้าง โดยจะต้องมีกลยุทธ์ 3 ส่วนที่ควรมองแยกประเด็นกันแต่ก็ต้องมีความสอดคล้องกันไปด้วยคือกลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ

การมองกลยุทธ์ระดับองค์กร

กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ Corporate Strategy นั้นจะต้องมองให้ไกลและดูสถานการณ์ของตลาด จากนั้นก็มากำหนดเป้าหมายหลักขององค์กรและทิศทางที่ควรจะเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ กลยุทธ์ระดับองค์กรจะต้องมีทั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจควบคู่กัน โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์ในส่วนนี้ออกมาได้เป็น 3 ระดับตามสถานการณ์ ได้แก่

การมองกลยุทธ์ระดับองค์กรจะต้องประเมินสถานการณ์แล้วเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ซึ่งก็จะมีทั้งกลยุทธ์เมื่อต้องการให้ธุรกิจเติบโต กลยุทธ์เพื่อรักษาระดับให้คงที่ และกลยุทธ์ที่ใช้แก้ไขเมื่อสถานการณ์ขององค์กรไม่ค่อยดี

1. Growth Strategy เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อสถานการณ์ขององค์กรกำลังไปในทางบวก โดยจะเน้นการเติบโตเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การขยายธุรกิจ การขยายตลาด หรือการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มเติม

2. Stability Strategy เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อสถานการณ์ขององค์กรเป็นไปแบบกลาง ๆ ไม่ได้บวกมากนักแต่ก็ไม่ถึงกับลบ หรือยังไม่คิดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรตอนนี้ โดยจะเน้นการรักษาระดับผลงานต่าง ๆ เอาไว้ให้คงที่มากที่สุดเพื่อความปลอดภัย

3. Retrenchment Strategy เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อสถานการณ์ขององค์กรไม่ค่อยดีนัก โดยจะเน้นความอยู่รอดขององค์กรเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น อาจมีการลดสาขา ลดกำลังการผลิต ลดแผนก ลดพนักงานเพื่อลดรายจ่ายหรือนำงานบางส่วนที่ไม่คุ้มค่าออก เป็นต้น

การมองกลยุทธ์ระดับองค์กรจะต้องมองภาพรวมก่อนว่าสถานการณ์ขององค์กรและทิศทางของตลาดตอนนี้เป็นแบบไหน จากนั้นจึงนำมากำหนดว่าควรใช้กลยุทธ์องค์กรแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด

การมองกลยุทธ์ระดับธุรกิจ

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ หรือ Business Strategy ในส่วนนี้จะเป็นการมองภาพรวมของตลาดแล้วกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรที่วางเอาไว้ในตอนแรก รายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องมองจึงเป็นเรื่องปลีกย่อยลงมา ตัวอย่างเช่น การจัดการทรัพยากร การบริหารทีมงาน การกำหนดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน โดยมักจะมี 5 กลยุทธ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ ได้แก่

การมองกลยุทธ์ระดับธุรกิจคือการค้นหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการทำตลาด ซึ่งจะมีกลยุทธ์ที่พบบ่อย ๆ คือกลยุทธ์ทางด้านราคา กลยุทธ์ที่สร้างความแปลกใหม่ กลยุทธ์ที่จะปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า กลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม และกลยุทธ์ผสมผสานระหว่างการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มกับการแข่งด้านคารา

1. Cost Leadership หรือกลยุทธ์ทางด้านราคา ก็คือการแข่งกันผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกกว่าคู่แข่ง ถ้าได้ยอดขายหรือส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้นแล้วธุรกิจของคุณก็จะกำหนดราคาสินค้าในตลาดได้ในอนาคต

2. Differentiation หรือกลยุทธ์การสร้างความแปลกใหม่ ก็คือการหาจุดขายใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีธุรกิจอื่นใช้มาก่อนหรือไม่มีคู่แข่งทางด้านนี้มากนักเพื่อเจาะตลาดลูกค้าใหม่ ๆ หรือดึงดูดความสนใจลูกค้าในกลุ่มสินค้าใกล้เคียงกัน

3. Customer Centric หรือกลยุทธ์การปรับตัวตามลูกค้า คือการมองความต้องการของลูกค้าเป็นหลักแล้วสนองตอบความต้องการนั้นให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ แต่ก็จะต้องคอยติดตามกระแสอยู่ตลอดว่าตอนนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบสินค้าแบบไหนมากที่สุด

4. Niche Market หรือกลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ก็คือการกำหนดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะด้านแล้วนำเสนอสิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการโดยเฉพาะ กลยุทธ์แบบนี้จะทำให้ธุรกิจของคุณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้นและยังมีการแข่งขันน้อยกว่าการเจาะตลาดใหญ่

5. Cost Focus เป็นการนำกลยุทธ์ทางด้านราคาและการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมาใช้ร่วมกัน ก็คือการเน้นลูกค้าเฉพาะทางและพยายามทำให้สินค้าของคุณราคาต่ำกว่าคู่แข่งเพื่อให้มีลูกค้าสนใจมากขึ้น แย่งส่วนแบ่งตลาดมาให้ได้มากที่สุด

จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 กลยุทธ์ที่พบบ่อยนั้นจะต้องมองภาพรวมของตลาดและภาพของธุรกิจคุณด้วยว่าสามารถทำแบบไหนได้บ้าง จะต้องมองภาพรวมแบบกว้าง ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ มองเจาะทีละประเด็นว่ากลยุทธ์แบบไหนเหมาะสมกับเป้าหมายองค์กรและทรัพยากรที่คุณมีอยู่มากที่สุด

การมองกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ

กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ หรือ Operational Strategy นั้นจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยภายในว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นก็พัฒนาการทำงานแต่ละส่วนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและกลยุทธ์ธุรกิจ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพดีขึ้น ไวขึ้น หรือจะเป็นการปรับลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีกำไรเหลือมากขึ้นก็ได้ กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการแต่ละแบบมักจะถูกกำหนดตามตำแหน่งหน้าที่ ตัวอย่างเช่น 3 กลยุทธ์ของ 3 แผนกดังนี้

C:\Users\User\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\04.jpeg

การมองกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการมักจะแบ่งออกมาเป็นกลยุทธ์ตามแผนกหรือตำแหน่งต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น กลยุทธ์สำหรับฝ่ายผลิต กลยุทธ์สำหรับฝ่ายการตลาด และกลยุทธ์สำหรับฝ่ายการเงิน เป็นต้น

1. Implementation Strategy คือกลยุทธ์ของฝ่ายผลิตหรือฝ่ายปฏิบัติการที่จะต้องมองภาพรวมเพื่อจัดลำดับความสำคัญ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานเพื่อให้ผลิตสินค้าคุณภาพดีได้อย่างรวดเร็ว

2. Marketing Strategy คือกลยุทธ์ของฝ่ายการตลาด ซึ่งจะเป็นการมองภาพรวมของธุรกิจแล้ววางแผนสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เหมาะสมเพื่อให้กลายเป็นธุรกิจอันดับต้น ๆ ในตลาด และจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนให้รอบคอบด้วย

3. Financial Strategy คือกลยุทธ์ของฝ่ายการเงิน ซึ่งจะเป็นการบริหารจัดการกระแสเงินสดให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะกระแสเงินสดสำคัญถึงขนาดเป็นตัวชี้วันการอยู่รอดของธุรกิจได้เลย และจะมีการมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ : แนวคิดแบบไหนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

นอกจากการมองภาพรวมของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กรแล้ว แนวคิดของผู้ประกอบการที่ดีก็จะพาให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นเช่นกัน สำหรับแนวคิดที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรมีเพื่อความพร้อมในการทำธุรกิจก็จะมีดังนี้

แนวคิดที่จะทำให้ผู้ประกอบการมือใหม่เข้าใกล้ความสำเร็จได้คือความมุ่งมั่น การมีความคิดสร้างสรรค์ มีความอดทน มีความเด็ดขาด มั่นใจ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และจะต้องรู้คุณค่าของเวลาด้วย

มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จคือความต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างแรงกล้าที่ผู้ประกอบการทุกคนควรต้องมี ถ้ามีความมุ่งมั่นในส่วนนี้จะทำให้คุณพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้

มีความคิดสร้างสรรค์

การมีความคิดสร้างสรรค์นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เพราะในปัจจุบันมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นมากมาย ถ้าไม่สามารถคิดให้สร้างสรรค์และแตกต่างจากคนอื่นก็จะไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากธุรกิจอื่นได้เช่นกัน

มีความอดทน

ความอดทนก็เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้ประกอบการจะขาดไม่ได้ เพราะการทำธุรกิจย่อมต้องเจอความลำบากอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีความอดทนก็จะยอมแพ้ไปง่าย ๆ ผู้ประกอบการหลายคนก็ต้องผ่านความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้งก่อนจะประสบความสำเร็จได้

“ความสำเร็จจะมาหาผู้ที่มีความอดทนเสมอ”

มีความเด็ดขาด มั่นใจ

การเป็นผู้ประกอบการก็จะมีหน้าที่ในการวางแผนและการตัดสินใจแก้ปัญหาตามมาด้วย ดังนั้นจะต้องมีความมั่นใจในตัวเอง ตัดสินใจอะไรให้เด็ดขาด แต่ก็จะต้องหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอด้วยเพื่อให้การตัดสินใจนั้นแม่นยำ ถูกต้องมากที่สุด

ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง

เชื่อว่ายังมีผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบอะไรที่ไม่คุ้นเคย ทำอะไรไม่ถูกเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องมองหาโอกาสในความเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ววางกลยุทธ์เพื่อให้สิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาพาไปสู่ความสำเร็จ

“ก่อนจะประสบความสำเร็จได้ต้องกล้าออกจาก Safe Zone”

รู้คุณค่าของเวลา

เพราะเวลาคือสิ่งที่เรียกคืนมาไม่ได้ และการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ก็จะต้องมีกรอบเวลากำหนดเอาไว้เสมอ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีจะต้องรู้คุณค่าของเวลา ในเชิงของธุรกิจแล้วเวลาที่ต่างกันแค่ 1 นาทีก็อาจจะทำให้มีกำไรหรือขาดทุนได้แล้ว ในการกำหนดงานต่าง ๆ ก็ต้องวางกรอบเวลาเอาไว้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าด้วยเช่นกัน

บทสรุป : ความสำคัญในการมองภาพรวมให้ออก และคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ

การมองภาพรวมให้ออกนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการมือใหม่สามารถวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ออกมาได้อย่างรัดกุม เพราะยิ่งมองภาพออกมาได้กว้างมากแค่ไหนก็จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหรือโอกาสต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากเท่านั้น เมื่อมองภาพรวมออกมาได้แล้วก็ค่อย ๆ โฟกัสส่วนที่สำคัญแล้วดำเนินการลงไปเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายขององค์กร

“มองไกล ๆ เพื่อให้เห็นว่าควรโฟกัสที่ตรงไหน”

เมื่อมองภาพกว้าง มองเห็นโอกาส อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือแนวคิดสำหรับผู้ประกอบการที่ดีซึ่งจะช่วยพาให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่เป้าหมายได้ไวขึ้น แม้จะเจอกับอุปสรรคมากแค่ไหนก็ต้องมองปัญหาเหล่านั้นให้ออก ตีโจทย์ให้แตก แล้ววางแผนรับมือกับปัญหาอย่างรัดกุม แม้ความสำเร็จจะไมได้มาถึงภายในเวลาอันสั้น แต่ถ้ามีความอดทน ไม่ย่อท้อ และยังมีความรอบคอบในการโฟกัสสิ่งต่าง ๆ อย่างตรงจุด วันหนึ่งความสำเร็จก็จะต้องมาหาคุณอย่างแน่นอน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *