เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรที่ดีคือส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณก้าวไปไกลขึ้นหลายเท่า ถ้ามีการบริหารจัดการองค์กรกันอย่างมืออาชีพ โครงสร้างองค์กรทุกส่วนจะทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มคุณภาพผลงาน และยังช่วยให้เข้าใกล้ความสำเร็จหรือเป้าหมายขององค์กรได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ความสำคัญของการบริหารจัดการองค์กร
การบริหารจัดการคือสิ่งที่จะช่วยให้งานทุกอย่างเป็นระเบียบขึ้นและสร้างผลลัพธ์ปลายทางที่ดีขึ้นได้ ในการทำงานขององค์กรก็เช่นกัน ถ้ามีการบริหารจัดการองค์กรที่ดีก็จะช่วยให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ในทางกลับกันถ้าบริหารจัดการองค์กรได้ไม่ดีก็จะทำให้ทรัพยากรภายในองค์กรสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การดำเนินงานก็จะเริ่มสะดุด ไม่สามารถสร้างยอดขายหรือผลงานได้ตามเป้าหมายจนอาจจะถึงขั้นล้มเลิกกิจการได้เลย
ทักษะที่ควรมีในการบริหารจัดการองค์กร
สำหรับผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการองค์กรก็จะต้องมีทักษะที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการได้ โดยจะแบ่งออกมาเป็น 3 ด้านใหญ่ ๆ คือด้านการตัดสินใจ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการสื่อสาร
ทักษะที่ควรมีเพื่อการบริหารจัดการองค์กรจะต้องมีตั้งแต่ทักษะด้านการคิดและตัดสินใจเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม และทักษะในด้านการสื่อสารเพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานที่มากขึ้น
ทักษะด้านการตัดสินใจ
ทักษะด้านการตัดสินใจที่ควรมีในการบริหารจัดการองค์กรจะใช้ในการวางแผนงานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานเป็นหลัก โดยจะมีทักษะสำคัญดังนี้
– การวางแผนเชิงกลยุทธ์
– การตั้งเป้าหมาย
– การวิเคราะห์ข้อมูล
– การวางแผนเวลา
– การจัดการเวลา
– การคาดการณ์ล่วงหน้า
– การแก้ไขปัญหา
ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม
ทักษะด้านการตัดสินใจที่ควรมีในการบริหารจัดการองค์กรจะใช้ในการทำงานและจัดการบุคลากรเป็นหลัก โดยจะมีทักษะสำคัญดังนี้
– การมอบหมายงาน
– การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
– การฝึกอบรม
– การจัดการประชุม
ทักษะด้านการสื่อสาร
ทักษะด้านการสื่อสารที่ควรมีในการบริหารจัดการองค์กรจะใช้เพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและเพิ่มศักยภาพในการทำงานทุกด้าน โดยจะมีทักษะสำคัญดังนี้
– การนำเสนอ
– การฟังแบบมีส่วนร่วม
– ความเข้าอกเข้าใจ
– การจัดการความขัดแย้ง
– การโน้มน้าวใจ
รวม 15 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพ
ในการบริหารจัดการองค์กรที่ดีนั้นจะต้องมีทักษะหลายอย่างประกอบกัน และจะต้องมีเทคนิคหรือเคล็ดลับบางอย่างมาเป็นแนวทางเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น 15 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพดังต่อไปนี้
1. มีการปรับตัวที่ยืดหยุ่น
การบริหารจัดการที่ดีจะต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจหรือองค์กรได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก องค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจเฉพาะทางที่ซับซ้อน หรือแม้แต่องค์กรที่ขาดแคลนทรัพยากรก็ตาม ไม่ว่าจะเจอองค์กรแบบไหนก็ต้องมองภาพรวมให้ออกแล้วจัดการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องติดตามข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงให้ทันเพื่อพร้อมรับมือตลอดเวลา
การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าจะต้องรู้ว่าทรัพยากรขององค์กรมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีคุณค่าแบบไหน และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะต้องคิดเพื่อต่อยอดหรือรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ด้วย
2. ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
ความหมายของการจัดการก็คือการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นไม่ว่าในองค์กรจะมีทรัพยากรแบบไหนก็ต้องมองคุณค่าให้ออกแล้วจัดการได้อย่างคุ้มค่า ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตอบโจทย์เป้าหมายของธุรกิจ และจะต้องรู้จักการต่อยอดเพื่อเพิ่มทรัพยากรที่มีอยู่หรือรักษาเอาไว้เพื่อให้ไม่ขาดแคลนทรัพยากรในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพย์ เวลา บุคลากร หรือเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ
3. มีความเป็นระเบียบ
แน่นอนว่าการทำงานทุกอย่างจะต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้เกิดคุณภาพผลงานที่ดี ในการบริหารจัดการที่ดีก็ต้องมีความเป็นระเบียบ สร้างแบบแผนที่ขัดเจน จัดทำเป็นมาตรฐานการทำงานหรือกฎขึ้นมาให้บุคลากรทุกคนร่วมกันปฏิบัติตาม รวมถึงจะต้องมีความพร้อมในการทำงาน ต้องมีความละเอียดรอบคอบด้วยเช่นกัน
4. มองเป้าหมายองค์กรเป็นหลัก
เนื่องจากผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการจะต้องมองเห็นภาพรวมและช่องโหว่ต่าง ๆ ขององค์กร ดังนั้นจะต้องมองเป้าหมายขององค์กรเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ถ้าองค์กรประสบความสำเร็จ ทุกคนก็จะประสบความสำเร็จตามไปด้วยอยู่แล้ว และในบางองค์กรก็อาจจะมีเป้าหมายหลายอย่างที่ถูกกำหนดเอาไว้พร้อมกัน ก็ให้จัดลำดับความสำคัญแล้วมองไปที่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดให้ได้ก่อน
5. แก้ปัญหาได้ทีละจุด
แม้หลายคนจะมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดี แต่ถ้ามองภาพรวมไม่ออกก็อาจจะทำให้การแก้ปัญหาเก่าไปสร้างปัญหาใหม่กับส่วนอื่นขององค์กรได้ ดังนั้นคุณจะต้องมองทุกกระบวนการให้ออก มองเห็นความเชื่อมโยง และต้องคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาให้ได้ทีละจุดโดยไม่มีผลกระทบไปยังส่วนอื่น และจะต้องมีความละเอียดมากเพียงพอที่จะมองเห็นปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ด้วย
เนื่องจากตำแหน่งต่าง ๆ จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ในการบริหารจัดการที่ดีจะต้องรู้ทั้งความแตกต่างของหน้าที่และศักยภาพของแต่ละคนเพื่อนำมาใช้วางแผนได้อย่างถูกต้อง จะต้องเลือกใช้คนให้ถูกงานและไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของตำแหน่งอื่น
6. เข้าใจความแตกต่าง
การบริหารจัดการที่ดีจะต้องรู้ถึงความแตกต่างของแต่ละตำแหน่ง รู้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนอย่างถี่ถ้วน ในการวางแผนงานหรือแก้ปัญหาอะไรก็จะสามารถระบุตัวบุคลากรที่มีหน้าที่ต้องทำได้ว่ามีตำแหน่งไหนบ้าง และจะต้องวางแผนให้มีความครอบคลุม ตรงหน้าที่ เลือกใช้คนให้ถูกงาน รวมถึงจะต้องไม่ก้าวก่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งอื่น
7. มีความสามารถรอบด้าน
ผู้ที่จะบริหารจัดการองค์กรได้ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถรอบด้าน เพราะทักษะที่ต้องใช้มีหลายอย่างและครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การนำเสนอ รวมถึงจะต้องคอยติดตามการทำงานเพื่อให้แผนการบริหารจัดการเกิดประโยชน์สูงสุดอยู่ตลอดเวลา
8. มีความสามารถสั่งการ
ในการบริหารจัดการที่ดีจะต้องรู้จักแจกจ่ายงานและควบคุมให้บุคลากรทุกคนร่วมมือทำงานกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการจะต้องมีอำนาจสั่งการหรือความสามารถในการกระตุ้น การจูงใจให้ผู้อื่นทำตามได้ จะต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วเฉียบขาด ไม่สร้างความขัดแย้งกันเองภายในองค์กร
9. เข้าใจการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากตลาดทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวตามได้เร็วก็จะเกิดผลดีต่อการบริหารจัดการ เมื่อตลาดหรือยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องรู้จักนำจุดเด่นของความเปลี่ยนแปลงนั้นมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กรเพื่อเข้าใกล้เป้าหมายความสำเร็จได้ก่อนผู้อื่น
ในการให้ความเสมอภาคนั้นจะต้องบริหารงานอย่างยุติธรรม ไม่มีการกดขี่รังแกหรือเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทำให้ใครต้องรู้สึกด้อยกว่าใคร และจะต้องสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญของความเสมอภาคด้วย
10. มีความเสมอภาค
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการหรือควบคุมงานอะไรก็ต้องมีความเสมอภาค ความเท่าเทียม ต้องไม่กดขี่ ข่มแหง รังแก เอาเปรียบ ไม่ทำให้ใครต้องรู้สึกด้อยกว่าเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ในการวางแผนหรือควบคุมงานก็ต้องให้ความใส่ใจกับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม และจะต้องสนับสนุนให้บุคลากรคนอื่นสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
11. บริหารจัดการเวลาเป็น
การบริหารจัดการเวลาถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำงานทุกอย่างเช่นกัน เมื่อสร้างแผนกำหนดการต่าง ๆ ออกมาแล้วก็จะต้องมีกำหนดเวลาออกมาด้วยพร้อมกัน เพื่อให้งานเสร็จทันตามกำหนดและมีคุณภาพงานที่ดีก็จะต้องมีการบริหารจัดการเวลาที่ดีตามไปด้วย เพราะการทำงานเกินกำหนดเวลาแต่ละครั้งนั่นหมายถึงเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องสูญเสียไป และจะไปกระทบกับแผนงานอื่น ๆ ต่อกันเป็นทอด ๆ
12. รู้จักปรับปรุงและแก้ไข
เมื่อเกิดปัญหาในการทำงานขึ้นมาแล้วก็จะต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่หลังจากที่แก้ไขปัญหานั้นมาแล้วจะต้องพิจาณาอย่างถี่ถ้วนว่าปัญหานั้นเกิดมาจากอะไรแล้วปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเดิมซ้ำ หรือถ้ามองเห็นจุดบกพร่องส่วนไหนในแผนกงานก็ต้องรีบปรับปรุงแผนเช่นกัน การปรับปรุงหรือแก้ไขจะต้องไม่กระทบภาพรวมของงานและจะต้องส่งเสริมให้องค์กรไปถึงจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13. เปิดกว้างรับความคิดเห็นใหม่
เพราะทุกคนย่อมมีความคิดเห็นหรือมุมมองเป็นของตัวเอง บางครั้งความคิดของคุณอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุดหรือคุณอาจตกหล่นประเด็นสำคัญบางอย่างไป ดังนั้นการเปิดใจให้กว้างพร้อมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ย่อมเป็นแนวทางการทำงานที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของผู้ที่มีอำนาจมากหรือน้อยกว่าตัวเองก็ตาม แต่ก็ต้องวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนด้วยว่าความคิดเห็นนั้นสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ และอาจนำหลาย ๆ ความคิดเห็นมารวมกันเพื่อสร้างแนวทางใหม่ก็ได้
ค่าตอบแทนนั้นอาจมีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง เงินเดือน สวัสดิการ หรือของรางวัลต่าง ๆ แต่จะต้องพิจารณาจ่ายให้อย่างเป็นธรรม มีความเหมาะสม ไม่เอาเปรียบลูกจ้าง ซึ่งการมีค่าตอบแทนที่ดีสามารถทำให้ลูกจ้างเกิดความจงรักภักดีกับองค์กรได้ด้วย
14. พิจารณาค่าตอบแทน
เมื่อทำงานก็ต้องมีค่าตอบแทน ถ้าบุคลากรภายในองค์กรรู้สึกว่าค่าตอบแทนที่ทำอยู่ไม่คุ้มค่า ไม่สมกับปริมาณงานที่ต้องทำ ก็จะทำให้คุณภาพของงานเริ่มลดลงตามไปด้วย ในกรณีเลวร้ายที่สุดอาจทำให้ต้องเสียบุคลากรคนสำคัญไป ดังนั้นองค์กรจะต้องไม่เอาเปรียบลูกจ้าง ต้องมีผลประโยชน์จ่ายให้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นการซื้อใจและผลประโยชน์ที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรได้ด้วย
ผลประโยชน์ที่พูดถึงก็อาจจะไม่ได้มาในรูปแบบของเงินเดือนหรือค่าจ้างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของรางวัล การฝึกอบรม ใบประกาศ การเลื่อนตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งการชื่นชมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรภายในองค์กร
15. รู้จักการใช้เทคโนโลยี
ทุกวันนี้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถูกคิดค้นออกมาอยู่เรื่อย ๆ การบริหารจัดการที่ดีก็จะต้องตามกระแสของเทคโนโลยีให้ทัน รู้จักนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใหม่ ๆ ไปจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อการตลาดและการโฆษณา เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ถ้าเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ก่อนใครก็เป็นการเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จได้ก่อนด้วยเช่นกัน
นอกจาก 15 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก็ยังมีเทคนิคหรือแนวคิดอื่น ๆ อยู่อีกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแต่ละองค์กรว่าให้ความสำคัญกับทางด้านไหน ยิ่งมีเทคนิคการบริหารจัดการและความละเอียดรอบคอบมากแค่ไหนก็จะยิ่งเสริมให้ประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรดีขึ้นเท่านั้น
สรุป : รวม 15 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพ
รวม 15 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพของเราเป็นแนวทางในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็เป็นเพียงแนวทางแบบกลาง ๆ ขึ้นอยู่กับจะนำไปปรับใช้งานกับองค์กรของคุณอย่างไร
“การบริหารจัดการที่ดีจะทำให้ทุกอย่างง่าย และประสบความสำเร็จไวขึ้น”
สำหรับทักษะต่าง ๆ ที่ควรมีในการบริหารจัดการองค์กรถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญ แม้จะมีไม่ครบทุกปัจจัยหรือทำตามเทคนิคได้ไม่ครบ 15 ข้อ แต่ถ้าสามารถทำบางเรื่องให้โดดเด่นขึ้นได้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็จะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพได้เช่นกัน
ในการบริหารจัดการองค์กรจะต้องมีการควบคุมดูแลเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าแผนงานที่เคยจัดทำขึ้นมาจะได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไรก็ต้องทำการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเอาไว้ปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้องค์กรของคุณเข้าใกล้เป้าหมายธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ